ต้องหยาบแค่ไหน… ถึงจะพอใจ

การเลือกกระเบื้องนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงสีสัน ลวดลาย และขนาดแล้ว ยังมีอีกองค์ประกอบสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือ ความหยาบของผิวกระเบื้อง ซึ่งผิวสัมผัสของกระเบื้องแต่ละประเภท จะส่งผลต่อทั้งความปลอดภัย ความสวยงาม และการใช้งาน
.
เนื้อหาต่อไปนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับประเภทของผิวกระเบื้อง และวิธีการเลือกความหยาบให้เหมาะสมกับการใช้งาน
.
ประเภทของผิวกระเบื้อง
โดยทั่วไปแล้ว ผิวกระเบื้องสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. ผิวเรียบ (Smooth Surface)
• ผิวเรียบเป็นผิวกระเบื้องที่นิยมใช้มากที่สุด เหมาะกับพื้นที่ภายในบ้านทั่วไป เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว
• ข้อดี: ทำความสะอาดง่าย ดูแลรักษาง่าย เหมาะกับสไตล์การตกแต่งที่หลากหลาย
• ข้อเสีย: ลื่นง่าย ไม่เหมาะกับพื้นที่เปียกน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชัน
2. ผิวขรุขระ (Textured Surface)
• ผิวขรุขระมีลวดลายนูนเล็กน้อย ช่วยเพิ่มความฝืดและป้องกันการลื่น
• เหมาะกับพื้นที่เปียกน้ำ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว พื้นที่ภายนอกอาคาร
• ข้อดี: กันลื่นได้ดี ทำความสะอาดง่าย
• ข้อเสีย: อาจจะดูสกปรกง่ายกว่าผิวเรียบ
3. ผิวหยาบ (Rough Surface)
• ผิวหยาบมีลวดลายนูนเด่นชัด เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความฝืดสูงสุด เช่น บันได ทางลาด
• ข้อดี: กันลื่นได้ดีเยี่ยม เหมาะกับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการลื่น
• ข้อเสีย: ทำความสะอาดยาก อาจจะดูไม่สวยงามเท่าผิวเรียบหรือผิวขรุขระ
หากพื้นกระเบื้องมีความลื่นมาก ๆ ก็ย่อมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากเช่นกัน จะดีกว่าไหมถ้ารู้จักการเลือกกระเบื้องให้เป็น เลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นที่นั้น ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งวิธีการเลือกกระเบื้องให้เหมาะกับพื้นที่บริเวณนั้นก็ง่ายมาก ๆ เพียงแค่รู้จัก ค่า R
.
ทำความรู้จักค่า R
ค่า R หรือชื่อเต็มว่า Slip Resistance Rating : ค่ากันความลื่น คือ ค่าที่ใช้วัดคุณสมบัติการกันความลื่นของพื้นผิว ซึ่งจะได้รับการทดสอบจาก Ramp Test โดยการปูกระเบื้องบนทางลาดชันในระดับองศาที่ต่างกัน เพื่อทดสอบความกันลื่นของพื้นผิวกระเบื้อง
ซึ่งถ้าหากองศาความลาดชันเพิ่มขึ้น ระดับของค่า R ของแต่ละพื้นผิวจะสูงขึ้นตามไปด้วย และยิ่งมีค่า R (R Value) ระดับสูงเท่าไร ก็ยิ่งกันลื่นได้มากเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการความปลอดภัย กันลื่นได้ดี ก็ต้องเลือกค่า R สูง ๆ
.
ระดับค่ากันความลื่นของกระเบื้อง
1. R9 การกันลื่นต่ำ มีระดับความหนืดอยู่ที่ 3-10 องศา เหมาะสำหรับบริเวณพื้นแห้ง ปูพื้นทั่วไป เช่น ห้องโถง ห้องอาหาร ห้องรับแขก พื้นที่ภายในออฟฟิศ เป็นต้น
2. R10 การกันลื่นปานกลาง มีระดับความหนืดอยู่ที่ 10-19 องศา เหมาะสำหรับบริเวณที่ต้องเปียกน้ำ เช่น พื้นที่ภายในบ้าน ห้องน้ำ โรงรถ เป็นต้น
3. R11 ค่ากันลื่นสูง มีระดับความหนืดอยู่ที่ 19-27 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ภายนอก เช่น บริเวณภายนอกอาคาร บันไดนอกตัวอาคาร (จังหวะก้าวเปลี่ยนขั้นจะมีความลื่นสูง) พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุ เป็นต้น
4. R12 ค่ากันลื่นสูง มีระดับความหนืดอยู่ที่ 27-35 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชันมาก เช่น บริเวณSlope พื้นเอียงทางเข้าครัวร้านอาหาร พื้นที่ภายนอกอาคารที่ต้องเปียกฝนเป็นประจำ
5. R13 ค่ากันลื่นสูงมาก มีระดับความหนืดมากกว่า 35 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชันมาก เช่น พื้นที่ภายนอกอาคาร พื้นที่ลาดชันสูง เป็นต้น
.
เมื่อเราทำความเข้าใจพื้นที่สำหรับรองรับกิจกรรม และผู้ใช้งานได้อย่างดีแล้ว จะทำให้เราเลือก “ระดับความหยาบ” ได้ตรงใจผู้ใช้งานนั่นเอง



Leave a comment